การสร้างการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในโรงเรียนสุขภาวะ

การดำเนินการโรงเรียนสุขภาวะจะเริ่มต้นการพัฒนาจากผู้เกี่ยวข้องในโรงเรียนคือ ผู้ปกครองนักเรียน ครอบครัว ชุมชน กรรมการสถานศึกษา ผู้บริหารและครู ซึ่งถือว่าเป็น “เจ้าของโรงเรียนร่วมกัน” และมีเป้าหมายอยู่ที่ตัวนักเรียน โดยนำหลักความเสมอภาคเข้ามาสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเพื่อให้เกิดความยั่งยืนและต่อเนื่องไม่ผูกติดอยู่กับผู้ใดผู้หนึ่งและใช้กระบวนการทางปัญญาในการขยายวงการเรียนรู้ไปสู่เครือข่าย และสร้างกระบวนการให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ขึ้นในสังคม เพื่อปฏิรูปการศึกษาโดยสังคมมีส่วนร่วมในที่สุด การพัฒนาโรงเรียนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจึงเน้นการจัดกระบวนการทำงานให้เกิดการเรียนรู้ที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน (Interactive Learning) คือ ผู้ปกครอง ชุมชน กรรมการสถานศึกษา ผู้บริหารและครู โดยใช้ตัวชี้วัดและเกณฑ์ของการประเมินคุณภาพภายนอกเป็นเครื่องยืนยันสภาพจริงของโรงเรียนและเป็นข้อมูลย้อนกลับเพื่อให้โรงเรียนสร้างกระบวนการพัฒนาคุณภาพของตนเอง ซึ่งการเรียนรู้ร่วมกันนี้จะต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่องตลอดกระบวนการของการพัฒนา โดยอาศัยแนวคิดสำคัญ คือแนวคิดเชิงยุทธศาสตร์เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมสร้างแผนพัฒนาคุณภาพโรงเรียน (School Improvement Plan : SIP) แนวคิดเชิงระบบเพื่อออกแบบกระบวนการทำงานในโรงเรียนให้เกิดความยั่งยืนและการเรียนรู้โดยการทำงานเป็นทีม



จุดเริ่มต้นของการมีส่วนร่วมในโรงเรียน

  1. สร้างศรัทธา
  2. จริงใจและมุ่งมั่นต่องานที่ทำ
  3. ทำให้เห็น
  4. ให้เกียรติกับทุกๆ คน
  5. ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมทำ
  6. ร่วมชื่นชมยินดี

ผลที่เกิดขึ้น
จากการร่วมกิจกรรมต่างๆ โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนอย่างต่อเนื่อง ปรากฏผลต่างๆ มากมาย สามารถสรุปเป็นข้อๆ ได้ดังนี้

  • ครอบครัวและชุมชนตระหนักในการมีส่วนร่วมในการศึกษามากขึ้น
  • ครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมในการประเมินช่วยเหลือและเป็นวิทยากรท้องถิ่น
  • ครอบครัวและชุมชนชื่นชมให้กำลังบุตรหลาน
  • ครอบครัวและชุมชนลดการเปรียบเทียบแต่จะดูพัฒนาการของบุตรหลาน
  • เด็กเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี ครอบครัวเปลี่ยน ชุมชนเปลี่ยน
  • กรรมการสถานศึกษาคือบุคคลสำคัญที่เชื่อมต่อระหว่างผู้ปกครองกับโรงเรียน
  • ครอบครัวและชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมพัฒนา ร่วมภาคภูมิใจ
  • ครอบครัวและชุมชนเป็นเจ้าของโรงเรียนร่วมกัน
  • ครอบครัวและชุมชนรักโรงเรียน
  • ครอบครัวและชุมชนมีความพึงพอใจต่อการพัฒนาโรงเรียนและมีความภาคภูมิใจที่เป็นส่วน
    หนึ่งของโรงเรียน

เรื่องที่เกี่ยวข้อง..

แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

รองศาสตราจารย์ ดร. ประวิต เอราวรรณ์
Assoc.Prof. Prawit Erawan, Ed.D

ประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยระบบการศึกษา
facebook.com/ประวิต เอราวรรณ์

ปฏิทินกิจกรรม