จิตศึกษา

จิตศึกษา คือกระบวนทัศน์ในการพัฒนาปัญญาภายในหรือความฉลาดด้านใน หมายถึงการพัฒนาด้านจิตวิญญาณ (Spiritual Quotient: SQ) และความฉลาดด้านอารมณ์ (Emotional Quotient: EQ)
เพื่อทำให้เกิดความรู้เท่าทันต่ออารมณ์และความรู้สึกของตนเองและผู้อื่นแยกแยะสาเหตุ และเข้าถึงความจริง ทำให้เกิดการเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับโลกและผู้อื่นจากด้านในเกิดความสุข ปัญญา และความรักอันไพศาลต่อเพื่อนมนุษย์และสรรพสิ่ง
กระบวนทัศน์ของจิตศึกษากับการพัฒนาโรงเรียนสุขภาวะ

  1.  ระดับกิจกรรม ในโรงเรียนอาจจัดช่วงเวลาเพื่อทำกิจกรรมจิตศึกษา ในช่วงเช้าหลังเข้าแถวเคารพธงชาติ ของทุกวัน ประมาณ 20 นาที ก่อนการจัดกระบวนการเรียนการสอนวิชาอื่นทุกวัน
    1.1 กิจกรรมเสริมสร้างพลังสงบ เป้าหมายเพื่อให้เกิดความสงบภายในและการผ่อนคลาย
    1.2 กิจกรรมฝึกสติ เป้าหมายเพื่อให้เด็กได้มีความชำนาญในการกลับมารู้ตัวได้เสมอๆ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้เด็กรู้เท่าทันอารมณ์และการกระทำที่กำลังเกิดขึ้นในแต่ละขณะเพื่อจะได้รู้ว่าควรหยุดหรือดำเนินกิจกรรมนั้นต่อ
    1.3 กิจกรรมฝึกสมาธิหรือการจดจ่อ เป้าหมายเพื่อให้เด็กมีความสามารถในการคงสมาธิได้ยาวขึ้น เพื่อกำกับความเพียรทั้งการเรียนรู้และการทำงานให้สัมฤทธิ์ผล
  2. การใช้จิตวิทยาเชิงบวก เป็นศาสตร์ที่เน้นการพัฒนาบุคลิกภาพของมนุษย์ให้มีความสุข โดยมีพื้นฐานมาจากการพัฒนาตนเอง เป็นคนดี และมองโลกในแง่ดี ในโรงเรียนสุขภาวะ คุณครูใช้จิตวิทยาเชิงบวกเพื่อสร้างแบบอย่างด้วยการไม่เปรียบเทียบชิงดีชิงเด่นหรือตีค่า ในสิ่งที่นักเรียนเป็นหรือนักเรียนทำ ลดคำการตัดสินผู้เรียนด้วยด้านลบ
  3. การสร้างความเป็นชุมชนและวิถีการใช้จิตศึกษาในระดับนี้ เป็นการปฏิบัติร่วมกันของคนในชุมชนอย่างกลมกลืน ต่อเนื่องและสม่ำเสมอ จนกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กร เกิดความตระหนักกับบุคคลทุกระดับ จิตศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนและตนเองในสภาพแวดล้อมที่สะอาด ร่มรื่น สวยงาม ปลอดภัย สร้างความเป็นกัลยาณมิตรที่ดีของครู สร้างสัมพันธภาพของคนในชุมชนการปฏิบัติในวิถีโรงเรียน

เรื่องที่เกี่ยวข้อง..

แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

รองศาสตราจารย์ ดร. ประวิต เอราวรรณ์
Assoc.Prof. Prawit Erawan, Ed.D

ประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยระบบการศึกษา
facebook.com/ประวิต เอราวรรณ์

ปฏิทินกิจกรรม