7 แนวโน้มการศึกษาทั่วโลก ที่มุ่งเน้นบทเรียนนอกตำรา

แนวโน้มการศึกษาในปัจจุบัน มักขึ้นอยู่กับการวัดผลความสำเร็จทางการเรียนและสติปัญญาของเด็กๆ โดยมองข้ามลักษณะพื้นฐานทางจิตใจ สังคม และสภาพความเป็นอยู่ทางกายภาพโดยรวม 7 แนวโน้มการศึกษาจากทั่วโลกต่อไปนี้ จึงครอบคลุมความต้องการทางการศึกษาโดยรวมในระดับสากล ที่คำนึงถึงธรรมชาติโดยรอบ มีการปูพื้นฐานความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและผู้อื่น มีการนำเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วม รวมถึงคำนึงถึงการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครอง เป็นต้น

1. การให้ความสำคัญต่อชุมชนและความรับผิดชอบในญี่ปุ่น
หนึ่งในประเทศที่ขึ้นชื่อทางด้านระเบียบวินัยอย่างญี่ปุ่นนี้ ยังมีการส่งเสริมทางด้านความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและชุมชนอีกด้วย โดยโรงเรียนเด็กเล็กในญี่ปุ่นจะจัดช่วงเวลาที่เรียกว่า “Soji no jikan” หรือช่วงเวลาทำความสะอาด ที่สอนเด็กๆ รู้จักที่จะเคารพและดูแลสถานที่ของตนเองด้วยการช่วยกันทำความสะอาด และยังรวมไปถึงการช่วยกันบริการอาหารกลางวันให้แก่เพื่อนๆ นักเรียนอีกด้วย
โดยการฝึกปฏิบัติดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของญี่ปุ่น ที่ต้องการสอนให้เด็กๆได้เรียนรู้ที่จะมีความรับผิดชอบและสามารถพึ่งพาตนเองได้ อีกทั้งยังต้องการให้เป็นแบบอย่างแก่ชุมชนที่ต้องการให้คนในชุมชนนั้นมีส่วนร่วมช่วยเหลือดูแลซึ่งกันและกัน ถึงแม้ว่าเด็กๆ นักเรียนในญี่ปุ่นนั้น จะมีการบ้านน้อยกว่าเด็กในประเทศอื่นๆ ที่ประสบความสำเร็จสูงกว่าในระดับนานาชาติ แต่อย่างไรก็ตามการประเมินระหว่างประเทศ เด็กนักเรียนญี่ปุ่นก็ยังถือว่าอยู่ในระดับเกณฑ์ที่ดี

02

2. การศึกษาธรรมชาติในสวีเดน (เช่นเดียวกับหลายประเทศในยุโรป)

แท้ที่จริง โรงเรียนในป่า มีจุดเริ่มต้นมาจากสหรัฐอเมริกา หากแต่ในสวีเดน เป็นการศึกษาที่มุ่งเน้นการเรียนในห้องเรียนเพื่อไปปรับใช้ในโลกของชีวิตจริงตามธรรมชาติ ซึ่งกำลังเจริญเติบโตเป็นที่นิยมและเป็นกลายเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการศึกษา โดยประเทศนั้นต้องการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กๆ ควบคู่ไปกับการนโยบายที่จะส่งเสริมปรับปรุงสนามเด็กเล่นทั่วประเทศ

03

3.โรงเรียนเตรียมอนุบาลในหลายประเทศทั่วโลก

“Preschool” หรือโรงเรียนเพื่อการพัฒนาทักษะก่อนวัยเรียนนั้นกำลังผุดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก โดยจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือการสร้างเสริมประสบการณ์ที่สำคัญเพื่อการ
เตรียมพร้อมเด็กก่อนเข้าสู่วัยเรียน อย่างเช่นในสหราชอาณาจักรที่ร้อยละ 97 ของเด็กอายุ 4 ขวบได้เข้าเรียนในโรงเรียนเตรียมอนุบาล ในขณะที่รัสเซียนั้นตามมาติดๆ ที่ร้อยละ 75 ทางฝั่งสหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดีโอบามาก็เริ่มหันมาสนับสนุนมากขึ้น

04

4.นโยบายเพื่อครอบครัวเด็กเล็กในฟินแลนด์

“ฟินแลนด์” ประเทศที่มีระดับการประเมินอยู่ในอันดับต้นๆ ของโลกนั้น ปัจจัยหนึ่งของความสำเร็จมาจากการศึกษาของฟินแลนด์ได้มุ่งเน้นให้ครอบครัวเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญในการปลูกฝังการศึกษาและการเรียนรู้ของบุตร ด้วยการสนับสนุนให้ครอบครัวที่มีเด็กกำลังเติบโต สามารถมีเวลาที่ยืดหยุ่นในการลาเพื่อเลี้ยงดูลูกๆ ที่มีอายุต่ำกว่า 3 ขวบอยู่กับบ้าน

05

5.โครงการอาหารกลางวันสำหรับเด็กในฝรั่งเศส

รัฐบาลฝรั่งเศสนั้น ได้มีการกำหนดเมนูอาหารกลางวันสำหรับเด็กโดยนักโภชนาการที่เน้นสร้างโปรตีนด้วยเนื้อสัตว์ แต่ก็ไม่ละทิ้งอาหารจำพวกผัก สลัดและผลไม้เพื่อโภชนาการที่ครบถ้วน อีกทั้งยังพยายามใช้วัตถุดิบอินทรีย์ในท้องถิ่นเพื่อการปรุงอาหาร นอกจากนั้นทางโรงเรียนยังมีการให้ข้อเสนอแนะกับผู้ปกครองในการเตรียมอาหารเย็นสำหรับเด็ก ที่สามารถเติมเต็มคุณค่าทางอาหารที่ขาดไปในช่วงเวลากลางวันได้

06

6.โต๊ะเรียนยืนในออสเตรเลีย

ส่วนใหญ่เด็กนักเรียนจะใช้เวลาประมาณ 8 ชั่วโมงต่อวันนั่งอยู่ที่โต๊ะในชั้นเรียนหนังสือ ซึ่งยังไม่รวมถึงเวลาอยู่บ้าน ที่มักนอนจมอยู่บนโซฟากับอุปกรณ์สื่อสาร โครงการทดลองเล็กๆ ของเมลเบิร์นจึงเกิดขึ้นในโรงเรียนประถมแห่งหนึ่ง ที่เปลี่ยนโต๊ะนั่งเรียนแบบเดิมๆ ให้เป็นโต๊ะแบบยืนเรียนที่สามารถปรับเปลี่ยนความสูงเพื่อการนั่งสลับกับการยืนได้ เช่นเดียวกับในสหรัฐอเมิรกาและเบลเยี่ยม ที่มีการคิดค้นโต๊ะยืนเรียนสำหรับเด็กๆ และยิ่งไปกว่านั้นในทำเนียบขาว ก็มีกองทุนเพื่อโต๊ะยืนทำงานสำหรับพนักงานอีกด้วย

07

7.เทคโนโลยีเพื่อการเรียนของสิงคโปร์และจีน

“สิงคโปร์” ประเทศที่มีนักเรียนมัธยมฉลาดที่สุดในโลกนั้น เป็นประเทศที่เพิ่มคอมพิวเตอร์ ให้เข้ามามีบทบาทสำคัญสำหรับการเรียนรู้ของเด็กๆ ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนหลักสูตรการเรียน รวมถึงการทำงานร่วมกับนักเรียน โดยมีการแบ่งเวลาทั้งการใช้ภายในโรงเรียนและนอกโรงเรียนตามเหตุผลสมควรสำหรับการเรียนรู้

ที่มาและภาพประกอบ : http://www.inhabitots.com/7-global-trends-in-education-we-wish-would-make-their-way-to-u-s-schools/
แปลและเรียบเรียงบทความโดย CopyRight : มูลนิธิศักดิ์พรทรัพย์ www.kusol.org

เรื่องที่เกี่ยวข้อง..

แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

รองศาสตราจารย์ ดร. ประวิต เอราวรรณ์
Assoc.Prof. Prawit Erawan, Ed.D

ประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยระบบการศึกษา
facebook.com/ประวิต เอราวรรณ์

ปฏิทินกิจกรรม